ดูงานระบบรถไฟฟ้า BTS ผมจึงได้ลงชื่อและไปดูระบบรถไฟฟ้า BTS มาครับ
แต่เนื่องจากเวลาที่ไปดูมีจำกัด จึงได้ดูงานเพียงส่วนเดียวครับ
ข้อมูลเบื้องต้นของเส้นทางและทางวิ่งของ BTS
สายสุขุมวิท ระยะทางรวม
22.25 กม.
สายสีลม 14 กม.
- เสารองรับโครงสร้างทางวิ่ง
- กว้าง 9 เมตร
- สูง 12 เมตร
- ระยะห่างระหว่างเสา 30-35 เมตร
โรงจ่ายแรงดันไฟฟ้า 4
แห่ง
- ไผ่สิงโต
- จตุจักร
- แบริ่ง
- สำโรง
ทิศทางเส้นทาง
- หมอชิต - แบริ่ง EAST BOUND
- แบริ่ง - หมอชิต NORTH BOUND
- สนามกีฬาแห่งชาติ - บางหว้า SOUTH BOUND
- บางหว้า - สนามกีฬาแห่งชาติ WEST BOUND
ส่วนในห้องควบคุมและโรงซ่อมมีอะไรบ้าง ไปดูกันครับ
ในส่วนแรกที่ผมได้ดูคือห้อง Central Control Room (CCR)
ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบ CTC และดูความเรียบร้อยของแต่ละสถานีครับ
มีเจ้าหน้าที่อยู่ประมาณ 6-10 คนครับ
หน้าจอ CTC ใหญ่ในห้อง CCR ครับ
สัญลักษณ์ใน CTC
- สีเขียว - ทางสะดวก ไม่มีรถในแทร็ก Signal ขาว
- สีเหลือง - ทางไม่ว่าง มีรถในช่างแทร็ก Signal แดง
- สีม่วง - ทางยังสร้างไม่เสร็จ สัญญาณ CTC ยังไปไม่ถึง
- สีแดง - ขบวนรถไฟ
จอคอมที่ใช้สำหรับปรับข้อมูลผังใน CTC ครับ
***เพิ่มเติม***
สมัยก่อนที่ใช้อาณัติสัญญาณของ Siemens ทาง BTS ได้ใช้สัญญาณติดตามขบวนรถแบบ Track Circuit แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นอาณัติสัญญาณของ Bombardier ทาง BTS ได้เปลี่ยนระบบติดตามขบวนรถจาก Track Circuit เป็น Radio แทน
จอต่อไปเป็นจอควบคุมย่านโรงซ่อมครับ ซึ่งโรงซ่อมและโรงจอดรถของ BTS มีทั้งหมด 22 แทร็ก (T1-T13 โรงจอด T14-T22 โรงซ่อม) ซึ่งในจอ CTC ถ้ามีสีเทาในกล่องแสดงว่ารถจอดอยู่ แต่ถ้ากล่องว่างแสดงว่าแทร็กว่างครับ
ถึงระบบควบคุมรถของ BTS จะเป็นระบบคอมพิวเตอร์หมด แต่ก็อาจเกิดความผอดพลาดได้ เช่นประแจ ถ้าเกิดประแจไม่สับเมื่อสั่งให้สับ ระบบสำรองจะสั่ง Signal ให้ขึ้นแดงทันที หรือเหตุการณ์ Signaling Fail รถที่ระบบติดตามหายไปจากจอได้ แต่ก็ยังมีระบบสำรองในการควบคุม
ส่วนการติดตามเวลาของขบวนรถว่าช้าหรือไม่ ในจอ CTC จะมีเลขขบวนรถในกรอบอยู่ใกล้ๆแทร็ก ซึ่งจะตามขบวนรถไปเมื่อรถวิ่ง โดยมีสีบอกเวลารถช้าดังนี้
สีเขียว - ตามเวลา
สีเหลือง - ช้า 2-5 นาที
สีแดง - ช้าเกิน 5 นาที
สีฟ้า - มาก่อนเวลา
จอควบคุมย่าน Depot
เรามาต่อกันครับ
หลังจากชมห้อง CCR เสร็จแล้ว ต่อไปก็เป็นส่วนสำคัญอีกส่วน นั่นคือ Depot หรือโรงรถนั้นเองครับ
อย่างที่ได้เคยบอกไปแล้ว ว่า Depot ของ BTS นั้นมีด้วยกัน 22 Track โดยเป็นแทร็กจอด 13 แทร็ก แทร็กซ่อม 9 แทร็กครับ
หลังจากชมห้อง CCR เสร็จแล้ว ต่อไปก็เป็นส่วนสำคัญอีกส่วน นั่นคือ Depot หรือโรงรถนั้นเองครับ
อย่างที่ได้เคยบอกไปแล้ว ว่า Depot ของ BTS นั้นมีด้วยกัน 22 Track โดยเป็นแทร็กจอด 13 แทร็ก แทร็กซ่อม 9 แทร็กครับ
มี EMU-A เซต 26 วิ่งลงมาเข้าคิวซ่อม
และนี่คือส่วนที่เราจะได้ดูกันครับ นั้นคือ Maintenance Depot
ถ้ามีโอกาสจะเอาภาพและข้อมูลมาฝากนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น